รถเบรกแตกเป็นหนึ่งในสาเหตุที่มักทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่อาจทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่นั่งมาด้วยเกิดอันตรายได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีรับมือหรือวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์เบรกแตก รวมถึงวิธีป้องกันหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากเบรกแตก คือสิ่งที่ผู้ขับขี่ต้องทำความเข้าใจ
อาการ รถเบรกแตก มักจะเกิดขึ้นกับรถยนต์ที่ขาดการดูแลรักษา และรถยนต์ที่ไม่ได้ตรวจเช็กสภาพก่อนนำเอามาใช้งาน ซึ่งปัจจัยที่อาจทำให้เกิดปัญหารถเบรกแตกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ, สายอ่อนหรือท่อทางเดินน้ำมันเบรกรั่ว, แรงดันของน้ำมันเบรกมาไม่เต็มระบบ, น้ำมันเบรกหมด หรือน้ำมันเบรกเหลือน้อย, น้ำมันเบรกชื้น, สายเบรกขาด, ผ้าเบรกหมด หรือผ้าเบรกไหม้ เป็นต้น
อย่างที่ได้มีการเกริ่นไปในตอนต้นแล้วว่า การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีรับมือหรือวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์รถเบรกแตกบนท้องถนน จะสามารถทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารบนรถรอดพ้นจากอันตรายของอุบัติเหตุได้ การเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดคิด เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ไม่ควรมองข้าม โดยวิธีรับมือมีดังนี้
หากในระหว่างที่อยู่บนท้องถนน รถยนต์ที่ขับอยู่นั้นเกิดอาการรถเบรกแตกขึ้น สิ่งแรกที่ผู้ขับขี่จะต้องทำ คือ การตั้งสติและจับพวงมาลัยให้มั่น อย่าตื่นตระหนกหรือตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่สติหลุดจะทำให้โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุมีสูงมากขึ้นทันที
ผู้ขับขี่จะต้องส่งสัญญาณ อย่างเช่น บีบแตรหรือเปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อให้รถยนต์คันหลังหรือรถยนต์ที่ตามมาด้านหลังทราบว่าในตอนนี้กำลังเกิดปัญหาหรือเกิดความผิดปกติขึ้นกับรถยนต์ของคุณ
ทำการถอนคันเร่งทันทีเพื่อลดความเร็ว และเพื่อนำระบบ Engine Brake หรือระบบความหน่วงของรถยนต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์รถเบรกแตก เมื่อทำการถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็วแล้ว ให้ผู้ขับชะลอความเร็วด้วยการเหยียบคลัตช์และลดเกียร์จาก D มาเป็น S หรือ L (ค่อยๆ ลดเกียร์ลงต่ำเรื่อยๆ)
เพื่อนำรถหลบเข้าข้างทาง ผู้ขับจะต้องพยายามบังคับพวงมาลัยรถให้เข้าไปที่เลนซ้ายให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการนำรถหลบเข้าข้างทางจะทำให้ไม่กีดขวางการจราจรบนท้องถนน และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเช่นการชนได้
ในสถานการณ์รถเบรกแตกสามารถที่จะใช้เบรกมือช่วยเพื่อชะลอความเร็วได้ โดยการดึงเบรกมือจะเป็นการช่วยหน่วงความเร็วของล้อ ให้ผู้ขับค่อยๆ ดึงเบรกมือขึ้นอย่างช้าๆ ห้ามดึงรวดเดียวเป็นอันขาด
การจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารถเบรกแตก ในขณะขับขี่ สามารถที่จะป้องกันได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง, การหมั่นเปลี่ยนผ้าเบรก สังเกตไม่ให้ผ้าเบรกบางจนเกินไป (ไม่ควรปล่อยให้บางเกิน 3 มิลลิเมตร) และการเลือกผ้าเบรกที่มีคุณภาพสูง ซึ่งการเลือกซื้อผ้าเบรกที่มีคุณภาพ สามารถเลือกซื้อกับ EZY FIT ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าสำหรับรถยนต์ ที่มีทีมช่างพร้อมการให้บริการถึงบ้านคุณแบบ ON-SITE SERVICES ได้
แน่นอนว่าอาการรถเบรกแตกในระหว่างอยู่บนท้องถนนนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะนี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่สามารถพบได้บ่อย ดังนั้นวิธีการรับมือกับสถานการณ์รถเบรกแตกที่เรากล่าวมาในข้างต้น รวมถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันการเกิดปัญหารถเบรกแตก คือสิ่งที่ผู้ขับขี่ควรจะให้ความสำคัญอย่างมากทีเดียว เพราะทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารบนรถปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากขึ้นนั่นเอง