ทริคขับรถขึ้นเขา-ลงเขาที่ต้องรู้ ก่อนออกเดินทาง


หลายปีมานี้ ภาคเหนือได้กลายเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวและนักเดินทางทั่วประเทศ เนื่องด้วยอากาศที่เย็นสบาย มีวิวภูเขาสวยๆ ทำให้หลายคนอยากที่จะขับรถขึ้นเขาเพื่อสัมผัสบรรยากาศและไอเย็นในช่วงสิ้นปี นอกจากการเตรียมตัวก่อนออกเดินทางอย่างการตรวจเช็กสภาพรถยนต์เบื้องต้น การเปลี่ยนถ่ายของเหลว การเปลี่ยนยาง และอื่นๆ การรู้วิธีขับรถขึ้นเขาลงเขาก็สำคัญไม่แพ้กัน วันนี้เรามีวิธีขับแบบปลอดภัยมาฝากกัน

 

วิธีขับรถขึ้นเขา-ลงเขาเกียร์ออโต้

วิธีขับรถขึ้นเขา-ลงเขาเกียร์ออโต้

 

การขับรถเกียร์ออโต้ในชีวิตประจำวันทั่วไปส่วนใหญ่จะใช้เพียงแค่เกียร์ D ในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า เพราะเป็นการส่งกำลังในระดับพื้นฐานควบคุมด้วยการเหยียบคันเร่งเท่านั้น แต่ในการขับรถขึ้นเขานั้นจะต้องใช้เกียร์อื่น ๆ เข้ามาช่วย เช่น เกียร์ D-3 เกียร์ D-2 และเกียร์ L (หรือบางรุ่นเป็นเกียร์ 3, 2 และ 1) โดยมีวิธีการควบคุมดังนี้

 

วิธีขับรถขึ้นเขาเกียร์ออโต้

 

  • ขับรถด้วยความเร็วคงที่ในระดับ 50-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รอบเครื่องประมาณ 2,000-3,500 รอบเป็นอย่างต่ำ ซึ่งเป็นความเร็วที่เพียงพอต่อการเคลื่อนที่ขึ้นในทางชันและใช้คันเร่งอย่างนุ่มนวล
  • หากรถเริ่มสูญเสียกำลังให้เหยียบคันเร่งให้ลึกขึ้นเล็กน้อยเพื่อเพิ่มกำลัง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรใช้ความเร็วสูงมากเกินไปเพื่อให้เบรกได้ทันเมื่อมีอุบัติเหตุหรือสิ่งกีดขวางข้างหน้า
  • เมื่อรู้สึกว่าเกียร์ D เร่งไม่ค่อยออก ให้เปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง D-3 D-2 และเกียร์ L ตามลำดับ เพื่อเพิ่มแรงบิดและกำลังในการขับเคลื่อน
  • รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากรถคันหน้า 30-50 เมตร เผื่อเวลาในการเบรกหากจำเป็น
     

วิธีขับรถลงเขาเกียร์ออโต้

  • ลดความเร็วก่อนขับลงเขาและเปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง D-2 หากพื้นถนนลาดชันขึ้นเรื่อย ๆ ใช้เกียร์ L ช่วยประคองรถได้ทันที
  • ปล่อยให้ระบบเกียร์ช่วยชะลอความเร็วรถ พยายามใช้เท้าเบรกเป็นระยะเพื่อควบคุมความเร็ว
  • หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรกค้างเป็นเวลานาน เพราะการใช้เกียร์ต่ำเป็นการใช้ Engine Brake เข้าช่วยเป็นหลักอยู่แล้ว หากเหยียบเบรกไปเรื่อย ๆ เบรกร้อนจัดและผ้าเบรกหมดเร็วโดยใช่เหตุ 
  • รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากรถคันหน้าเพื่อความปลอดภัย
     

วิธีขับรถขึ้นเขา-ลงเขาเกียร์ธรรมดา

 

วิธีขับรถขึ้นเขา-ลงเขาเกียร์ธรรมดา

 

รถเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์กระปุก เป็นเกียร์ที่มีวิธีใช้งานซับซ้อนกว่าเกียร์ออโต้ เพราะต้องคอยเลี้ยงคลัตช์เพื่อรักษารอบเครื่องให้สมดุล สำหรับการขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์ธรรมดานั้น หลักสำคัญคือจะต้องใช้เกียร์ต่ำเพื่อช่วยให้เครื่องส่งกำลังได้ดี โดยเทคนิคในการควบคุมรถมีดังนี้

 

วิธีขับรถขึ้นเขาเกียร์ธรรมดา

 

  • ในระหว่างขึ้นเขา ควรใช้เกียร์ 1-2 เพื่อช่วยรักษาความเร็วและรอบเครื่องให้เหมาะสม
  • ค่อย ๆ เหยียบและปล่อยคลัตช์ให้เป็นจังหวะ พร้อมเหยียบคันเร่งอย่างนุ่มนวลเพื่อประคองความเร็ว
  • หากรถเริ่มสะดุดให้เหยียบคลัตช์และเบรกค้างไว้ จากนั้นค่อยๆ ปล่อยคลัตช์อีกครั้งพร้อมกับเหยียบคันเร่ง
  • เลี่ยงการใช้เกียร์เดิมตลอดทาง ควรเปลี่ยนสลับไปมาระหว่างเกียร์ 1-2 ตามความเร็วและความชันของเส้นทาง และไม่ควรใช้เกียร์สูง เพราะจะทำให้เครื่องไม่มีกำลังมากพอเพื่อพาขึ้นเขา เสี่ยงเครื่องดับระหว่างทางได้
     

วิธีขับรถลงเขาเกียร์ธรรมดา
 

  • ระหว่างทางเขาก็ควรใช้เกียร์ 1-2 เช่นกัน โดนก่อนเข้าเกียร์ควรลดความเร็วให้ต่ำที่สุด จากนั้นจึงเข้าเกียร์ตามความเหมาะสมของเส้นทาง
  • ใช้ Engine Brake ในการชะลอความเร็ว โดยปล่อยคันเร่งและปล่อยให้เครื่องยนต์ชะลอรถ เลี่ยงการเหยียบเบรกค้างตลอดทาง ควรแตะเพื่อควบคุมความเร็วเท่านั้นป้องกันไม่ให้ผ้าเบรกหมดเร็ว
  • หลีกเลี่ยงการเหยียบคลัตช์ค้างเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้คลัตช์สึกหรอเร็วขึ้น หรือมีอาการคลัตช์ไหม้ระหว่างทาง
     

ขับรถขึ้นเขา-ลงเขา แบบไหนถึงปลอดภัย

ขับรถขึ้นเขา-ลงเขา แบบไหนถึงปลอดภัย

 

หลังจากที่ได้ทราบเทคนิคการขับรถขึ้นเขา-ลงเขาด้วยเกียร์ออโต้และเกียร์ธรรมดาไปแล้ว ก็จะสังเกตได้ว่ามีหลายสิ่งที่ใช้เทคนิคเหมือนกัน ต่างกันแค่การควบคุมการส่งกำลังของเกียร์ของทั้งคู่ที่มีการทำงานแตกต่างกัน โดยวิธีการขับรถขึ้นเขาและลงเขาให้ปลอดภัย มีดังนี้

 

ใช้เกียร์ต่ำในการขับรถขึ้นเขา 

การขับรถขึ้นเขาต้องใช้เกียร์ต่ำเป็นหลัก ถ้ารู้สึกว่าทางที่ขับอยู่ไม่ได้ลาดชันมาก และเกียร์ D ยังไหวอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเกียร์ แต่หากรถไม่มีกำลัง ควรลดลงมาเป็นเกียร์ D1 D2 2 และ L ขึ้นอยู่กับรุ่นรถแต่ละชนิดที่มีระบบเกียร์ที่ให้มาไม่เหมือนกัน 

 

ใช้รอบเครื่องยนต์ที่เหมาะสม

การรักษารอบเครื่องยนต์ที่เหมาะสมจะช่วยไม่ให้เครื่องยนต์เกิดอาการโอเวอร์ฮีท (รถมีความร้อนเกินกว่าระดับปกติ) ส่วนรอบเครื่องยนต์ที่ใช้ ควรอยู่ระหว่าง 2,500-3,500 รอบ และไม่ควรเกิน 4,500 รอบ  

 

รักษาระยะห่างจากคันหน้าให้พอดี

เพื่อป้องกันอุบัติเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีที่รถเกิดดับกลางทางหรือเครื่องยนต์มีปัญหา ควรเว้นระยะจากคันหน้าสัก 30-50 เมตร หรือสองช่วงคันรถจะช่วยให้เราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

บีบแตรส่งสัญญาณทุกครั้งเมื่อเจอมุมอับ

โดยปกติแล้ว เส้นทางขับขี่ทางภาคเหนือมักจะเป็นแนวสันเขาที่มีเส้นทางที่ค่อนข้างคดเคี้ยว ในบางครั้งอาจต้องเจอโค้งหักศอก หรือมีต้นไม้บังสายตาระหว่างขับขี่ จึงควรบีบแตรส่งสัญญาณก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวเราและเพื่อนร่วมถนน

 

เกียร์ L D1 D2 D3 แตกต่างกันอย่างไร

เกียร์ L D1 D2 D3 ต่างกันอย่างไร 

 

หลายครั้งเรามักจะเห็นตัวอักษร L D1 D2 D3 บนตำแหน่งเกียร์ที่ใช้งาน แต่ไม่รู้ว่าต้องใช้งานแบบไหนถึงจะเหมาะกับทางลาดชันแต่ละประเภท โดยปกติแล้ว ควรสังเกตที่ตัวรถขณะขับเป็นหลัก ว่ามีพละกำลังเพียงพอหรือไม่ จึงค่อยเปลี่ยนเกียร์ให้เหมาะสม

 

  • L หรือ D1 - เป็นเกียร์ต่ำสุด เหมาะสำหรับทางลาดชันมาก ใช้ในทางขึ้นเขาเพื่อให้รอบเครื่องยนต์ไม่สูงและเกิดการโอเวอร์ฮีท อีกทั้งยังเป็นการให้เครื่องยนต์ช่วยเบรกเพื่อลดการเหยียบเลรกอีกด้วย
  • D2 - เป็นเกียร์ต่ำที่รองลงมา เหมาะสำหรับทางลาดชันที่ไม่มาก แต่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดล้อฟรี และมีหลักการทำงานคล้ายเกียร์ D1 เพียงแต่จะมีกำลังและรอบเครื่องยนต์มากขึ้น 
  • D3 - เป็นเกียร์ต่ำที่เหมาะสำหรับทางลาดชันเพียงเล็กน้อย ใช้ในการขับแซงในกรณีที่ต้องการพละกำลังมากขึ้นในการขับขี่ 

 

เครื่องยนต์ 1,200 ซีซี ขับรถขึ้นเขาไหวไหม

รถยนต์ที่ออกขายในประเทศล้วนมีสมรรถนะที่เพียงพอต่อการใช้งานในประเทศไทยกันอยู่แล้ว เพียงแต่เครื่องยนต์ที่มีพละกำลังไม่สูง อาจจะต้องค่อยๆ ขับไปแบบไม่รีบ และควรระมัดระวังในการแซงเท่านั้นเอง แต่ยังไงก็ไปไหวแน่นอน

 

สรุปเกี่ยวกับการขับรถขึ้นเขาให้ปลอดภัย

นอกจากทริคต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ก่อนออกเดินทางกันแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น ก็คือยางรถยนต์ควรใช้ยางที่มีคุณภาพ จะช่วยให้การขับขี่นั้นสนุกและปลอดภัยมากขึ้น หากใครกำลังมองหายางรถยนต์คุณภาพดี พร้อมโปรโมชั่นโดนๆ EZY FIT มีให้เลือกเพียบ พร้อมบริการเปลี่ยนยางถึงหน้าบ้าน ฟรีค่าบริการ เปลี่ยนยาง ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เติมลมไนโตรเจน สนใจโทร. 090-956-5566