พวงมาลัยล็อค อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม


รถพวงมาลัยล็อคเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สร้างความวิตกกังวลต่อผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาก็มีข่าวจำนวนไม่น้อยที่อุบัติเหตุมีสาเหตุเกิดขึ้นจากพวงมาลัยล็อคได้เช่นกัน โดยความจริงแล้วในเวลาที่เรากำลังขับรถอยู่พวงมาลัยสามารถล็อคได้หรือไม่ ในทางข้อมูลวิศวกรรมยานยนต์ถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แล้วสาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยล็อคเกิดจากอะไร EZY FIT จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้

 

พวงมาลัยรถยนต์มีกี่ระบบ

 

ในปัจจุบันเทคโนโลยีวงการรถยนต์ได้ถูกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด โดยระบบการบังคับพวงมาลัยก็ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาเช่นเดียวกัน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้นและมีน้ำหนักที่เบาแตกต่างจากพวงมาลัยรถในสมัยก่อน โดยพวงมาลัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีชื่อเรียกว่าพวงมาลัยเพาเวอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ 

 

  • พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก ประกอบไปด้วยชุดปั๊ม น้ำมัน และระบบไฮดรอลิก คอยช่วยผ่อนแรงให้คนขับสามารถเลี้ยวรถได้ง่ายขึ้น และมีน้ำหนักที่เบาขึ้นโดยที่ไม่ต้องออกแรงเยอะ 
  • พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า ประกอบด้วยชุดมอเตอร์ไฟฟ้าที่มาทดแทนระบบไฮดรอลิก ช่วยทำหน้าที่ผ่อนแรงในหมุนเลี้ยวพวงมาลัย ซึ่งมีเซนเซอร์คอยตรวจจับและปรับระดับน้ำหนักของพวงมาลัยให้เหมาะสมกับความเร็วในขณะขับขี่

 

สาเหตุหลักที่ทำให้พวงมาลัยล็อค

สำหรับปัญหาของพวงมาลัยล็อค ในพื้นฐานทางวิศวกรรมของรถทุกรุ่นการบังคับทิศทางถือว่าเป็นความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน หากเกิดความผิดพลาดจนทำให้ระบบของพวงมาลัยล้มเหลวก็จะยังสามารถควบคุมทิศทางได้ แต่อาจจะต้องใช้แรงในการบังคับมากกว่าปกติ โดยอาการพวงมาลัยล็อคมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้

 

1. แร็คพวงมาลัยเสื่อม

 

อาการพวงมาลัยล้อค อาจเกิดขึ้นได้จากแร็คพวงมาลัยเสื่อม เนื่องจากแร็คพวงมาลัยเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์บังคับที่ติดตั้งเชื่อมต่อกับระบบกันสะเทือน โดยอาการแร็คพวงมาลัยเสื่อมจะทำให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถได้ยาก หรือมีเสียงดังเวลาเลี้ยว หากมีอาการดังกล่าวควรรีบนำรถเข้าตรวจเช็กอย่างละเอียดก่อนที่จะเกิดปัญหาร้ายแรงตามมา

 

2. ปั๊มพาวเวอร์เสียหรือแร็ครั่ว

 

สำหรับรถยนต์ที่ใช้พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกจะมีส่วนประกอบของปั๊มน้ำมันไฮดรอลิกที่คอยทำหน้าที่สร้างแรงดันในการช่วยผ่อนแรงพวงมาลัย ถ้าหากว่าปั๊มเพาเวอร์ชำรุดหรือแร็ครั่วจะทำให้แรงดันตก ส่งผลทำให้พวงมาลัยมีน้ำหนักมากขึ้น ผู้ขับขี่บังคับรถได้ยากขึ้น แต่ก็ยังสามารถควบคุมรถได้ปกติ

 

3. ชิ้นส่วนบังคับเลี้ยวเสียหาย

 

หากชิ้นส่วนในการบังคับเลี้ยวเกิดชำรุดในขณะขับขี่ เช่น แร็คพวงมาลัย แกนพวงมาลัย หรือชิ้นส่วนอื่น ๆ ผู้ขับขี่จะยังสามารถขับรถได้ตามปกติ เพียงแต่ว่าน้ำหนักของพวงมาลัยจะเพิ่มมากขึ้นและเลี้ยวได้ยากขึ้น

 

วิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อพวงมาลัยล็อค

หากผู้ขับขี่ต้องเจอกับปัญหาพวงมาลัยล้อค หรือปัญหาพวงมาลัยมีอาการหนัก บังคับเลี้ยวได้ยากในขณะที่กำลังขับรถอยู่อย่าเพิ่งตกใจ ควรตั้งสติและลดความเร็วของรถ หลังจากนั้นจับพวงมาลัยให้แน่นและพยายามบังคับทิศทางเพื่อจอดในพื้นที่ปลอดภัย แล้วจึงโทรแจ้งไปยังศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถเพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจเช็กอย่างละเอียดและทำการซ่อมในทันที

 

สรุปบทความ

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ขับขี่ต้องเจอกับปัญหาพวงมาลัยล้อคในสถานการณ์จริง สิ่งสำคัญที่สุดคือการควบคุมสติ เพราะในช่วงเวลานั้นอาจมีเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาทีในการตัดสินใจ แต่เมื่อไหร่ที่ตั้งสติได้ดีจะทำให้คุณสามารถบังคับทิศทางของรถไปที่บริเวณข้างทาง เพื่อสร้างความปลอดภัยและลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุได้ดียิ่งขึ้น EZY FIT ก็มีบริการตรวจเช็คสภาพรถ 25 รายการฟรีถึงบ้าน เพียงแค่ใช้บริการเปลี่ยนยางกับอีซี่ฟิตเท่านั้น โดยหากสนใจสามารถลองเข้ามาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่